วุ้นตาเสื่อม อันตรายจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือมือถือ ดูแลด้วยภูมิสมดุล

เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ มือถือ โดยเฉพาะบนมือถือที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เช่นการสื่อสาร การเล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง ล้วนแล้วแต่มีความสะดวกสบาย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ สุขภาพ ซึ่งแน่นอนว่าดวงตาของเราย่อมได้รับผลกระทบจากการใช้งานสิ่งเหล่านี้อย่างแน่นอน

อาการวุ้นตาเสื่อม ภัยเงียบใกล้ตัว
โดยปกติ ลูกตาเราจะมีวุ้นตา (vitreous) อยู่ภายในช่องตาส่วนหลังเพื่อคงรูปร่างของลูกตา ตั้งแต่เกิดวุ้นตาจะมีลักษณะเป็นเจลหนืด ใส ยึดติดกับจอตาที่บุอยู่ภายในลูกตาโดยรอบ ซึ่ง 99% ของวุ้นตาเป็นน้ำ ส่วนที่เหลือประกอบด้วยโปรตีน เส้นใย เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และสารเกลือแร่ต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนหรืออาจจะเร็วขึ้นในบางภาวะ วุ้นตาจะเสื่อมตัวกลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา ทำให้เห็นเป็นเงาดำ อาจเป็นจุดเล็กๆ เส้นๆ หรืออาจเป็นวงๆลอยไปมาในตา เรียกภาวะนี้ว่า posterior vitreous detachment (PVD) ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของวุ้นตาที่เกาะอยู่เป็นวงรอบขั้วประสาทตา

ขณะที่วุ้นตาลอกตัวจากจอตา อาจมีการดึงรั้งของวุ้นตาที่จอตาบางบริเวณที่ยึดติดแน่น ทำให้เกิดการฉีกขาดที่จอตา พบได้ 10-20% ของผู้ป่วยที่มีวุ้นตาเสื่อม ซึ่งมักทำให้มีอาการเห็นแสงไฟวาบขึ้นในตา โดยจะเห็นชัดเจนในที่มืด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่ภาวะจอตาหลุดลอก (retinal detachment) และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อมาพบแพทย์

ผู้ที่มีอาการของวุ้นตาเสื่อม จำเป็นต้องได้รับการตรวจวุ้นตาและจอตา โดยแพทย์จะทำการตรวจตาส่วนหน้าก่อน หลังจากนั้นจะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อที่จะสามารถตรวจดูจอตาและวุ้นตาได้อย่างละเอียด ซึ่งหลังจากหยอดยาขยายรูม่านตาแล้ว จะทำให้ตาพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ และใช้สายตาในระยะใกล้ไม่ได้ เป็นเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง โดยอาจจะไม่ปลอดภัยหากต้องขับรถเอง และควรเตรียมแว่นกันแดดเพื่อช่วยลดอาการตาสู้แสงไม่ได้

วุ้นตาเสื่อมรักษาอย่างไร

โดยมากวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องรักษา การเห็นเงาดำลอยไปมาในตาอาจก่อให้เกิดความรำคาญ แต่จะไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะสามารถปรับตัวได้ และเงาดำหรือแสงวาบจะค่อยๆลดลงและหายไปในที่สุด
กรณีที่พบการฉีกขาดของจอตาร่วมด้วย ต้องได้รับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการจี้ความเย็น เพื่อปิดรอยฉีกขาดและป้องกันการเกิดจอตาหลุดลอกตามมา
รักษาโรคทางตาอื่นๆที่เป็นสาเหตุ
ขอขอบคุณ: บทความสุขภาพตา โดย พญ.วีรยา พิมลรัฐ

ปรึกษา
โทร.093-974-5878
Line : 989shop

โรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง (Psoriasis) พร้อมวิธีดูแลด้วยภูมิสมดุล

มนุษย์เราในการป้องกันหรือลดอาการผิดปกติในร่างกาย ซึ่งบั่นทอนสุขภาพนี้ เกิดจากการที่ร่างกายสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้มีระดับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ไม่อยู่ในระดับมากเกินไปจนเกิดอาการผิดปกติ เช่น โรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง (Auto-Immune Diseases) และไม่อยู่ในระดับที่น้อยเกินไปจนติดเชื้อและถูกกระทบโดยสิ่งแปลกปลอมได้ง่าย อีกนัยหนึ่ง คือ เกิดภาวะภูมิบำบัด (Auto Immunotherapy) ที่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันสมดุล (Immunomodulation หรือ Immune Balance) ขึ้นในร่างกายนั่นเอง

โรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง (อังกฤษ: Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นตุ่มหรือปื้นแดง ที่มีขุยหรือสะเก็ดขาวติดอยู่ รอยโรคมักเกิดกับผิวหนังบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ รวมทั้งที่ศีรษะและเล็บด้วย ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม และยังพบว่ายังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติอื่นๆ เช่น ความผิดปกติใน metabolism ของ Arachidonic acid และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง บริเวณรอยโรคของ Psoriasis เซลล์ผิวหนังในชั้น epidermis มีการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติหลายเท่า และเคลื่อนตัวมาที่ผิวนอกภายในเวลา 4วัน (ปกติใช้เวลา 28วัน) ทำให้ผิวหนังหนาเป็นปื้น แต่เซลล์ผิวหนังขาดแรงยึดเหนี่ยวกันตามปกติ ทำให้ keratin หลุดลอกออกเป็นแผ่นๆได้ง่าย มักพบมีอาการกำเริบเวลามีภาวะเครียดทางกาย และจิตใจที่มากเกินไป การติดเชื้อ การได้รับบาดเจ็บ การขูดข่วนผิวหนัง การแพ้แดด การแพ้ยา (เช่น Chloroquin, Beta-Blocker, Contraceptive, NSAIDs)

อาการเริ่มต้นของสะเก็ดเงิน ส่วนมากจะเริ่มต้นจากอาการมีขุยบนหนังศีรษะ ซึ่งแตกต่างจากรังแคโดยทั่วไปที่ผิวหนังตอนเริ่มกำเริบใหม่ๆจะเป็นตุ่มแดงขอบเขตชัดเจน และมีขุยสีขาว (สีเงิน) อยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่และหนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ดสีเงิน(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านเลยเรียกว่า โรคสะเก็ดเงิน)สะเก็ดนี้จะร่วงเวลาถอดเสื้อหรือเดินไปไหนมาไหน หรือร่วงอยู่ตามเก้าอี้ ที่นอน ถ้าขูดเอาสะเก็ดออกจะมีรอยเลือดซิบๆ รอยโรคของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะปื้นหนาซึ่งเป็นเรื้อรัง ขึ้นๆ ยุบๆอยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด จึงเรียกลักษณะโรคที่เป็นเช่นนี้ว่า Chronic Plaque type psoriasis แต่ยังอาจพบลักษณะโรคในแบบอื่นได้บ้าง ได้แก่

Guttate psoriasis มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งตัว และมักเกิดตามหลังการติดเชื้อ Streptococci ในทางเดินหายใจ
Flexural psoriasis เป็นตามบริเวณเนื้ออ่อน ซึ่งได้แก่ ผิวหนังตามข้อพับของร่างกาย มีลักษณะเป็นปื้นแดงค่อนข้างแฉะ แยกยากจากโรคติดเชื้อรา โดยเฉพาะ Penile psoriasis จะแยกยากจากสาเหตุอื่นของ Balanitis
Palmoplanter psoriasis เป็นผื่นแห้งหนามีขุยมาก แยกยากจากโรค Eczema เรื้อรัง
ความผิดปกติดังกล่าว อาจเกิดได้ที่ผิวหนังของทุกส่วนแต่มักจะพบที่หนังศีรษะ และผิวหนังส่วนที่เป็นปุ่มนูนของกระดูก เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ก้นกบ หน้าแข้ง เป็นต้น โรคนี้ยังชอบขึ้นที่เล็บ ทำให้เกิดอาการได้หลายลักษณะเช่น เล็บเป็นหลุม ตัวเล็บขรุขระ เล็บแยกตัวออกจากผิวหนัง(Onycholysis) ผิวใต้เล็บหนา(Subungual keratosis) มักเกิดร่วมกับข้ออักเสบและเนื้อเยื่อขอบเล็บอักเสบ(Paronychia) บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราร่วมด้วย และอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นโรคเชื้อกลากที่เล็บ, โรคเชื้อราแคนดิด้าที่เล็บ ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยจะมีการอักเสบของข้อ(Psoriatic arthropathy) ร่วมด้วย มักพบที่ข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า ผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบร่วมด้วยมักมีอาการทางผิวหนังรุนแรงกว่าปกติ

อาศัยลักษณะทางคลินิกเป็นสำคัญ ในรายที่สงสัยควรตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา และตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น ต่อการวินิจฉัยแยกโรคอย่างอื่นเช่น การตรวจ KOH เพื่อแยกโรคเชื้อรา และการทำ Patch Test เพื่อแยกโรค Contact dermatitis เป็นต้น

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อย และยังเป็นโรคที่รักษาแล้วไม่หายขาด แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง ก็สามารถควบคุมให้รอยโรคหายไปได้หรือปรากฏได้น้อยที่สุด ในผู้ป่วยรายที่อาการไม่รุนแรงนัก รอยโรคอาจหายไปได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี การให้ความรู้เรื่องโรคแก่ผู้ป่วยและญาติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำไปพร้อมๆกับการบำบัดทางยาเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีปมด้อยมากและต้องการการยอมรับจากคนอื่นที่อยู่รอบข้าง เพราะความเครียดทางจิตใจที่เป็นสาเหตุ ที่ทำให้โรคกำเริบได้ การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยจะช่วยระงับความวุ่นวายใจ ไม่ต้องคอยเปลี่ยนสถานที่รักษาบ่อยๆ อันเป็นปัญหาที่พบเป็นประจำ

การรักษาโรคสะเก็ดเงินในปัจจุบันมีวิธีการรักษา 3 ประเภท ได้แก่

1.การรักษาด้วยยาทา

มีความสำคัญในเวชปฏิบัติทั่วไปมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงวิธีนี้จะเหมาะกับรอยโรคที่เป็นไม่มากนักประมาณ ร้อยละ25 ของพื้นที่ผิวกาย ยาที่ใช้ได้แก่

Topical steroid ควรใช้ชนิดที่ความแรงปานกลาง เช่น Betamethasone ,Triamcinolone เป็นต้น ทาเฉพาะรอยโรควันละ 2 ครั้ง เมื่อผื่นยุบก็หยุดยาได้ สำหรับบริเวณผิวอ่อน เช่น ข้อพับ ใบหน้า ต้องใช้ steroid อย่างอ่อน เช่น Prednisolone หรือ Hydrocortisone cream สำหรับผื่นที่มีความหนามากควรใช้ steroid ที่มีความแรงสูง ได้แก่ Clobetasol ข้อดีของยากลุ่มนี้คือสะดวกทำให้รอยโรคหยุดได้เร็ว ข้อเสียคือ มีผลข้างเคียงเฉพาะที่มากหลังหยุดยารอยโรคมักจะเห่อขึ้นมาใหม่ได้เร็ว สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ทา steroid ความแรงสูงเป็นบริเวณกว้างอยู่นาน สามารถทำให้เกิด Cushing syndrome ได้
Coal tar ชนิด 1-5% ทาที่รอยโรควันละ 1-2 ครั้ง ช่วยให้รอยโรคยุบได้ เพราะมีฤทธิ์ Antimitotic แต่ยาประเภทนี้ไม่มีในท้องตลาดต้องให้สัชกรผสมยา
Anthralin มีฤทธิ์ทำให้รอยโรคที่เป็นปื้นหนาลดลงปัจจุบันใช้ทาในระยะสั้น 10-30 นาทีแล้วล้างออก ในทางปฏิบัติควรเริ่มด้วยความเข้มข้นต่ำๆ เช่น 0.1% แล้วค่อยๆเพิ่มความเข้มข้นขึ้นไป 3-5 วัน เป็น 0.25% จนถึง 1% ตามลำดับ ยานี้ห้ามใช้กับใบหน้าและผิวอ่อน
Calcipotriol ointment เป็น vitamin D3 analogue มีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเซลล์ในชั้น epidermis และลด Chemotaxis ของ Neutrophill ทำให้รอยโรคยุบลงได้ ข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ข้อเสีย มีฤทธิ์ระคายเคืองค่อนข้างสูงและราคาแพง
2.การรักษาด้วยยากินและยาฉีด

การรักษาด้วยยากินและยาฉีดมักจะมีผลข้างเคียงมาก หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษจึงสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีรอยโรคมาก เกินร้อยละ 20 ของพื้นผิวร่างกายซึ่งดื้อต่อการรักษาด้วยยาทา หรือผู้ป่วยที่มีชนิดของโรคที่รุนแรง เช่น Pustular Psoriasis โดยการรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ซึ่งมีความชำนาญเฉพาะ

3.การรักษาด้วยแสง

แสงแดดช่วยให้รอยโรค Psoriasis ดีขึ้นได้ แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยตากแดดบ้างโดยค่อยๆเพิ่มปริมาณแสงแดดขึ้นจนถึงระดับที่เหมาะสม คือรอยโรคดีขึ้นโดยไม่มีการไหม้เกรียมของผิวหนัง แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยากเนื่องจากแสงแดดในแต่ละเวลาไม่เท่ากัน การรักษาด้วยแสง (Light therapy) ทำได้เฉพาะโรงพยาบาลที่มีเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเล็ต ซึ่งแพทย์อาจใช้แสง UVB (ความยาวคลื่น 290-320 nm) เรียกว่า UVB phototherapy หรือใช้ UVA (320-400 nm) ร่วมกับการกินยา psoralen ที่เรียกว่า PUVA therapy ผู้ป่วยต้องมารับการฉายแสงที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่รอยโรคจะดีขึ้นในเวลา 1-2 เดือน
อ้างอิง-Roger C. Cornell, M.D.,Richard B. Stoughton, M.D. Topical Corticosteroid. 1985 Hoechst Aktiengesellscsast. West Germany. Page 17,28-3
-อภิชาติ ศิวยาธร. กรกฎาคม 2547. Psoriasis. คลินิกโรคผิวหนังต้องรู้. ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน กรุงเทพฯ 10400. พิมพ์ดี กรุงเทพฯ. หน้า 102-108
-นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. สิงหาคม 2544 . Psoriasis. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป. ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน กรุงเทพฯ 10400. พิมพ์ดี กรุงเทพฯ. หน้า 664-666

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและถามตอบภูมิสมดุล

โทร.093-974-5878
Line : 989shop
http://www.bim100.site
http://www.phumsomdul.club
https://www.shopbim100.com
https://www.facebook.com/bim100.site

โรคไซนัสอักเสบ จัดการด้วยภูมิคุ้มกันที่สมดุล

ไซนัส (Sinus) คือ โพรงอากาศเล็ก ๆ ในกะโหลกศีรษะที่อยู่รอบ ๆ จมูก ซึ่งมีทางเชื่อมมาเปิดที่โพรงจมูกอยู่หลายจุดทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยมีหน้าที่ให้ความอบอุ่นและความชื้นแก่อากาศที่หายใจเข้าไปในทางเดินหายใจ ช่วยปรับเสียงพูด ช่วยในการรับรู้กลิ่น และสร้างเมือกเพื่อให้ความชื้นและชะล้างโพรงจมูก ภายในเยื่อบุโพรงไซนัส (โพรงอากาศ) จะมีขนอ่อน (Cilia) ที่คอยโบกพัดเพื่อระบายเอาเมือก (เสมหะหรือน้ำมูก) ออกมา ซึ่งในภาวะปกติจะมีการระบายของเมือกที่สร้างขึ้นในโพรงไซนัสลงมาที่รูเปิดในโพรงจมูกเพื่อให้ความชื้นและชะล้างโพรงจมูก แต่ถ้ารูเปิดเหล่านี้ถูกอุดกั้น เช่น จากการเป็นหวัด (เยื่อบุจมูกและไซนัสอักเสบบวม) การติดเชื้อหรือภูมิแพ้ ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีริดสีดวงจมูก ก็จะทำให้เมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายเมือกออกมาได้ เมือกเหล่านี้จึงเกิดการหมักหมมจนกลายเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ลุกลามมาจากโพรงจมูกเข้าไปในโพรงไซนัส จึงทำให้เยื่อบุไซนัสอักเสบบวม ขนอ่อนในโพรงไซนัสสูญเสียหน้าที่ในการขับเมือก และมีการสร้างและสะสมของเมือกมากขึ้น กลายเป็นหนองขังอยู่ในโพรงไซนัสทำให้เกิดอาการของโรคไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) แบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน (มีอาการน้อยกว่า 30 วัน) ชนิดกึ่งเฉียบพลัน (มีอาการอยู่ระหว่าง 30-90 วัน) และชนิดเรื้อรัง (มีอาการมากกว่า 90 วัน) โดยการอักเสบอาจเกิดกับไซนัสได้ทุกตำแหน่ง ได้แก่ ไซนัสข้างตา (Ethmoid sinus), ไซนัสหน้าผาก (Frontal sinus), ไซนัสโหนกแก้ม (Maxillary sinus) และไซนัสที่อยู่ใต้ฐานกะโหลกศีรษะ(Sphenoidal sinus) แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ไซนัสโหนกแก้ม (Maxillary sinus) ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดที่บริเวณโหนกแก้ม

ไซนัสอักเสบไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคเฉพาะตัวส่วนบุคคลที่สามารถพบได้ทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศชื้น และพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยพบได้ประมาณ 3-5% ของผู้ป่วยที่มาตรวจที่คลินิกหู คอ จมูก ส่วนใหญ่มักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กซึ่งมีโอกาสเป็นหวัดได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis), โรคเยื่อจมูกอักเสบ (Purulent rhinitis), ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps), ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated nasal septum), รากฟันเป็นหนอง เป็นต้น และผู้ป่วยอาจมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหืด ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

โดยทั่วไปมากกว่า 0.5% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหวัดจะมีโอกาสเกิดไซนัสอักเสบตามมา ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) หรือโรคหืดจะมีไซนัสอักเสบร่วมด้วยประมาณ 40-50%

สาเหตุของไซนัสอักเสบ

  • ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute sinusitis) มักเป็นโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (หวัดภูมิแพ้) โดยเชื้อที่ทำให้ไซนัสอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคหวัด (ทำให้มีอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหล นานกว่า 7-10 วัน และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่) เชื้อแบคทีเรีย (ส่วนใหญ่ ได้แก่ สเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) และฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) และส่วนน้อยอาจเกิดจากเชื้อรา เช่น แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) ซึ่งถ้าพบในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยเอดส์มักมีอันตรายร้ายแรง สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่พบได้ คือ
  • โรคหวัดเรื้อรัง ทำให้เยื่อบุจมูกบวม รูเปิดไซนัสอุดตัน จึงทำให้เกิดการอักเสบของไซนัสได้
  • โรคภูมิแพ้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการคันในจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ทำให้ต้องขยี้จมูกและสั่งน้ำมูกอยู่บ่อย ๆ ส่งผลให้เยื่อบุจมูกบวม รูเปิดไซนัสอุดตัน จึงทำให้ไซนัสอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • การติดเชื้อของฟัน โดยเฉพาะฟันกรามน้อยและฟันกรามด้านบน โดยทั่วไปพบว่าประมาณ 10% ของการอักเสบของไซนัสที่โหนกแก้มจะมีสาเหตุมาจากฟันผุ เพราะผนังด้านล่างของไซนัสบริเวณนี้จะติดกับรากฟัน บางรายจะแสดงอาการชัดเจนภายหลังที่ไปถอนฟันมาแล้วเกิดรูทะลุระหว่างไซนัสโหนกแก้มและเหงือกขึ้น (Oroantral Fistula)
  • โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคไอกรน โรคหัด
  • เป็นผู้ที่ชอบใช้ยาพ่นจมูกโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาพ่นจมูกบางตัวจะทำให้เกิดภาวะติดยาและเยื่อจมูกบวมเรื้อรังได้ และยังทำให้ความรู้สึกในการรับรู้กลิ่นลดลงอีกด้วย
  • มีความผิดปกติของโพรงหลังจมูก เช่น เป็นริดสีดวงจมูก, เนื้องอกในจมูก, ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีสิ่งแปลกปลอมในจมูก (เช่น ลูกปัด เม็ดถั่วเขียว เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ฯลฯ) ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็ก ในผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะมีการอุดตันของรูเปิดไซนัสได้ง่ายเช่นกัน
  • การสูบบุหรี่จัดหรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น การอยู่ในชุมชนแออัด อยู่ในย่านโรงงาน การได้รับมลพิษทางอากาศ เพราะจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง จึงมีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบได้มากขึ้น
  • การว่ายน้ำบ่อย ๆ หรือดำน้ำลึก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดการสำลักน้ำเข้าไปในจมูกและไซนัสได้ และอาจมีเชื้อโรคเข้าไปด้วยจนทำให้เกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้ สารคลอรีน (Chlorine) ในสระว่ายน้ำ ยังเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุไซนัสได้ด้วยเช่นกัน
  • การกระทบกระแทกที่บริเวณใบหน้าอย่างแรง เพราะอาจทำให้ไซนัสโพรงใดโพรงหนึ่งแตกหัก ช้ำบวม หรือมีเลือดออกภายในโพรง ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา
  • การเปลี่ยนแปลงความดันอากาศรอบ ๆ ตัวแบบทันที (Barotrauma หรือ Aerosinusitis) เช่น ในขณะที่เครื่องบินขึ้นหรือลงจอด หรือจากการดำน้ำลึก เป็นต้น ถ้ารูเปิดของไซนัสในขณะนั้นบวมอยู่ เช่น กำลังเป็นหวัด หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้กำเริบ ก็จะส่งผลให้เยื่อบุบวมมากขึ้น รวมทั้งอาจมีการหลั่งสิ่งคัดหลั่งออกมาหรือมีเลือดออกได้ และก่อให้การอักเสบขึ้นได้ ซึ่งพบบ่อยที่ไซนัสหน้าผาก
  • ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic sinusitis) ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่ไม่พึ่งออกซิเจน (Anaerobic bacteria), สแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), ฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae), เคลบเซลลา นิวโมเนียอี (Klebsiella pneumoniae), กลุ่มแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) และบางครั้งอาจมีการติดเชื้อหลายชนิดร่วมกัน ส่วนน้อยอาจเกิดจากเชื้อรา เช่น แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) ที่มักทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อเชื้อรา (Allergic fungal sinusitis) ซึ่งพบได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรงเป็นปกติ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังนี้มักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง ได้แก่
  • การไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเพียงพอในขณะที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันดังที่กล่าวมา ซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยเองที่ขาดการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  • การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนซ้ำซาก
  • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น การอยู่ในชุมชนแออัด อยู่ในย่านโรงงาน การได้รับมลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ รวมถึงการสูบบุหรี่จัด
  • การมีโรคหรือภาวะที่ทำให้มีการอุดตันของรูเปิดของไซนัส ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) ทำให้เยื่อบุจมูกบวม, โรคริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps), เนื้องอกในโพรงจมูกหรือไซนัส, ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated nasal septum), มีเดือยหรือกระดูกงอกที่ผนังกั้นช่องจมูก (Septal spur), ผนังด้านข้างของโพรงจมูกโค้งงอผิดรูป (Paradoxical turbinate), การมีเซลล์ผิดปกติขนาดใหญ่ในผนังด้านข้างของจมูก เรียกว่า เซลล์อากาศ (Air cell) ทำให้ผนังดังกล่าวมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจนก่อให้เกิดการอุดตันรูเปิดของโพรงอากาศ, ต่อมอะดีนอยด์โตหรือมีสิ่งแปลกปลอมในจมูกเด็กเป็นเวลานาน ๆ เช่น ลูกปัด เม็ดถั่วเขียว เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ, เป็นผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือใส่สายให้อาหารทางจมูกอยู่เป็นเวลานาน
  • การมีโรคหรือภาวะที่ทำให้ขนอ่อน (Cilia) ที่คอยโบกพัดเพื่อระบายสิ่งคัดหลั่งออกข้างนอกเสียไป จึงเกิดการสะสมของสิ่งคัดหลั่งในไซนัส ก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ เช่น ในภาวะหลังเป็นโรคหวัด
  • เป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux – LPR)
  • เป็นโรคทางทันตกรรมเรื้อรัง
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือลดลง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ เบาหวาน ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้มีภาวะโลหิตจาง ขาดสารอาหาร มีอารมณ์แปรปรวน มีความเครียดสูง เป็นต้น
  • มีปัจจัยเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบวมของเยื่อบุจมูก เยื่อบุไซนัส และรูเปิดไซนัสบวม ทำให้มีสิ่งคัดหลั่งสะสมอยู่ในไซนัสและก่อให้เกิดการติดเชื้อ



อาการของไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ในผู้ใหญ่มักมีอาการปวดใบหน้าบริเวณไซนัสที่อักเสบ เช่น ปวดที่บริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม รอบ ๆ กระบอกตา หลังกระบอกตา บางรายอาจรู้สึกคล้ายปวดฟันตรงซี่บน โดยอาจปวดเพียงข้างเดียวหรือปวดทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งจะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ หรือหน่วง ๆ บางครั้งจะมีอาการมึนศีรษะร่วมกับอาการปวด และอาการปวดมักจะเป็นมากขึ้นในช่วงเช้าหรือบ่ายและเวลาก้มศีรษะหรือเปลี่ยนท่า ผู้ป่วยมักมีอาการคัดแน่นจมูกอยู่ตลอดเวลา พูดเสียงขึ้นจมูก มีน้ำมูกเป็นหนองออกข้นเหลืองหรือเขียว หรือมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียวไหลจากด้านหลังจมูกลงในคอ ทำให้ต้องคอยสูดหรือขากออก และอาจมีไข้ (บางรายอาจมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไข้สูงก็จะมีอาการปวดศีรษะและปวดบริเวณใบหน้าร่วมด้วย) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังเป็นเวลานาน เจ็บคอ ระคายคอ เสียงแหบ ปวดหู หูอื้อ หายใจมีกลิ่นเหม็น ความรู้สึกในการรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง

ในผู้ป่วยเด็กมักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าผู้ใหญ่ แต่มักมีอาการเป็นหวัดนานกว่าปกติ กล่าวคือ มีน้ำมูกใสหรือข้นเป็นหนอง และมีอาการไอนานกว่า 10 วัน มักจะไอทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อาจมีไข้ต่ำ ๆ และหายใจมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ในเด็กบางรายอาจแสดงอาการเป็นหวัดรุนแรงกว่าปกติ เช่น มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส น้ำมูกข้นเป็นหนอง ปวดที่บริเวณใบหน้า หลังตื่นนอนจะสังเกตเห็นอาการบวมรอบ ๆ ตา นอกจากนี้ในเด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรังและหอบหืดก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบไว้ด้วย

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีอาการต่อเนื่องทุกวันนานเกิน 90 วัน ในผู้ใหญ่มักมีอาการคัดแน่นจมูก มีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียวไหลจากด้านหลังจมูกลงในคอ หายใจมีกลิ่นเหม็น ความรู้สึกในการรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีไข้และอาการปวดไซนัสแบบที่พบในไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ส่วนในเด็กมักมีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล หายใจมีกลิ่นเหม็น มีโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนหรือหูชั้นกลางอักเสบซ้ำซาก เด็กบางรายอาจมีไซนัสอักเสบเฉียบพลันกำเริบมากกว่าปีละ 6 ครั้ง และแต่ครั้งจะนานกว่า 10 วัน


วิธีป้องกันไซนัสอักเสบ

การดูแลตนเองเพื่อลดโอกาสการเกิดไซนัสอักเสบ หรือลดอาการรุนแรงสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำแบบไม่หักโหม (เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค), พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอนหรือนอนดึกบ่อย ๆ (เพราะถ้าร่างกายอ่อนแอจะมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย), รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน, ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เป็นต้น

2.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ มลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ และกลิ่นที่ผิดปกติ โดยควรเลือกอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีฝุ่นละออง ไม่มีเกสรดอกไม้ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

3.หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือกระโดดน้ำ เมื่อมีอาการคล้ายหวัดกำเริบ

4.หลีกเลี่ยงภาวะอุณหภูมิแปรเปลี่ยนฉับพลัน เช่น การเข้า ๆ ออก ๆ ห้องปรับอากาศ หรือการอยู่ในรถยนต์ที่ตากแดดร้อน ๆ เป็นต้น

5.ไม่ควรใช้ยาพ่นจมูกโดยไม่ปรึกษาแพทย์

6.ควรได้รับการตรวจโพรงจมูกโดยแพทย์ทางหู คอ จมูก ปีละครั้ง

7.พยายามดูแลตนเองอย่าให้เป็นหวัด เพราะผลจากการเป็นหวัดสามารถทำให้เป็นไซนัสอักเสบได้

8.การป้องกันไซนัสอักเสบไม่ให้เกิดซ้ำอีก สามารถทำได้โดยการพยายามแก้ไขและป้องกันไม่ให้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาได้อีก เช่น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตามคำแนะนำข้างต้น และถ้ามีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด คออักเสบ ฟันผุ ฯลฯ ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว หรือถ้าเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ริดสีดวงจมูก ผนังกั้นช่องจมูกคด ฯลฯ เหล่านี้ก็ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เป็นต้น

9.ผู้ที่เป็นหวัด มีน้ำมูกหรือมีเสมหะในคอมีลักษณะข้นเหลืองหรือเขียว เป็นหวัดต่อเนื่องกันทุกวันนานผิดปกติ (เช่น นานเกิน 10 วัน) หรือเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการแสดงของโรคไซนัสอักเสบ

ปรึกษา โทร.093-974-5878
Line : 989shop

เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 464-465.
2.หาหมอดอทคอม.  “ไซนัสอักเสบ โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ (Sinusitis)”.  (นพ.พิชัย พัวเพิ่มพูนศิริ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : haamor.com.  [11 ส.ค. 2016].
3.สาระน่ารู้ เรื่อง โรคภัยไข้เจ็บ โดยความอนุเคราะห์ของคณะแพทย์ หลักสูตรบริหารงานสายแพทย์ทหารชั้นสูง รุ่นที่ 12 กรมแพทย์ทหารอากาศ.  “โรคไซนัส”.  (น.อ.ศักดา สุจริตธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : web.ku.ac.th/saranaroo/.  [11 ส.ค. 2016]
4.มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 297 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก.  “ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) โรคที่บั่นทอน คุณภาพชีวิต”.  (นพ.ประพจน์ คล่องสู้ศึก).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [11 ส.ค. 2016].
5.ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  “เมื่อเป็นไซนัสอักเสบ”.  (รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [12 ส.ค. 2016].
6.ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ.  “การรักษาไซนัสด้วยบอลลูน (Balloon Sinuplasty)”.  (นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.bangkokhealth.com. [12 ส.ค. 2016].
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai

อาการและสาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบ พร้อมวิธีการดูแลด้วยภูมิสมดุล


วันนี้จะพามารู้จักกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

โรคที่เกิดจากภาวะที่มีแผลในเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นถูกทำลาย ซึ่งครอบคลุมหลายโรคด้วยกัน ตั้งแต่แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพยกรวม ๆ ของาะอาหารชนิดที่ไม่มีแผล โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมไปถึงโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่กล่าวถึง

สภาวะปกติภายในกระเพาะอาหารจะมีความเป็นกรดสูง ทำให้ต้องมีการสร้างชั้นเยื่อเมือกเคลือบป้องกันกรด ซึ่งเยื่อเมือกที่ว่านี้จะประกอบไปด้วยต่อมที่มีหน้าที่ในการหลั่งกรดและเอนไซม์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร แต่เมื่อกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้กระเพาะอาหารผลิตกรด เอนไซม์ และเมือกที่ช่วยเคลือบป้องกันกระเพาะอาหารได้น้อยลง จึงส่งผลต่อการย่อยอาหารนานขึ้น ผิวกระเพาะอาหารเกิดอักเสบได้ง่าย

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ซึ่งโรคกระเพาะอาหารอักเสบยังไม่พบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylorior) เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม ส่วนอีกสาเหตุ คือ การรับประทานในกลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) อย่างไรก็ตามยังพบโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้จากสาเหตุอื่นเช่นกัน เช่น การติดเชื้อราบางประเภท การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือระบบภูมิคุ้มกันตนเองบกพร่องจากโรคบางชนิด เช่นโรคโครห์น (Crohn's disease) โรคซาคอยโดซิส (Sarcoidosis) หรือภาวะการอักเสบเรื้อรังทางกระเพาะอาหารอื่น ๆ

อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันออกไป หรือในบางรายอาจไม่พบอาการชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายช่องท้องส่วนบน มีอาการท้องเฟ้อ อิ่มง่าย จุกหน้าอก แน่นท้อง เรอบ่อย อาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกคลื่นไส้หลังการรับประทานอาหาร ไม่มีความอยากอาหาร ทั้งนี้ โรคกระเพาะอาหารอักเสบไม่พบที่มีอาการร้ายแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์หรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะอยู่ในช่วงการรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) และยาบรเทาอาการปวดอื่น ๆ มีการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป
การดูแลด้วยภูมิสมดุล ปรึกษา โทร.093-974-5878 หรือ Line : 989shop

https://www.facebook.com/bim100.site

เอดส์ HIV โรคติดต่อ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดูแลด้วยภูมิสมดุล

"โรคเอดส์" เป็นโรคร้ายแรงที่ยังไม่มีตัวยาใดมารักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังพบผู้ติดเชื้อ เอดส์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นจึงทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดเอาวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันเอดส์โลก เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายจากโรคเอดส์นั่นเอง โรคนี้คือภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่าง ๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ

การป้องกันโรคเอดส์

เราสามารถป้องกันโรคเอดส์ ได้โดย

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

2. รักเดียว ใจเดียว

3. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน

4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด

การสร้างภูมิคุ้มกันให้มีความสมดุล เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ HIV


ปรึกษาปัญหาสุขภาพและถามตอบภูมิสมดุล

โทร.093-974-5878

Line : 989shop

http://www.bim100.site
http://www.phumsomdul.club
https://www.shopbim100.com

https://www.facebook.com/bim100.site


ข้อควรปฏิบัติหากได้รับเชื้อเอดส์

ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และควรดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ควรวิตกกังวล เพราะหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะสามารถมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี โดยมีข้อปฏิบัติคือ

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับเชื้อ หรือแพร่เชื้อเอดส์

4. งดการบริจาคเลือด อวัยวะ และงดใช้สิ่งเสพติดทุกชนิด

5. หากเป็นหญิง ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ถึง 30%

6. ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด ไม่กังวล รวมทั้งอาจฝึกสมาธิ

7. อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ที่มา https://health.kapook.com/view2757.html

เช็คเลย!! 10 สัญญาณอันตราย ที่บ่งบอกอาการโรคเบาหวาน



โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" ได้ น้อยหรือไม่สามารถสร้างได้เลย ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินที่ว่าจะคอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใ­­­­ช้เป็นพลังงาน และเมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดการสะ­­­­สมของน้ำตาลในอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลสะสมในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกกรองออกมาผ่านทางปัสสาวะนั่นเอง ทั้งนี้อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะสังเกตได้ดังนี้ค่ะ

ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำบ่อยขึ้น

หากคุณเริ่มรู้สึกว่าพักหลัง ๆ คุณลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน และกระหายน้ำมากกว่าเดิม ขอบอกเลยว่านั่นเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานค่ะ นั่นก็เป็นเพราะร่างกายจะต้องขับปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่า­­­­ปกติออก มาทางปัสสาวะ และร่างกายก็ต้องการน้ำเพื่อทดแทนของเหลวที่ขับออกไปพร้อมกับน้ำตาล แต่ก็จะเป็นเฉพาะเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติได้ อาการเหล่านี้ก็จะเบาบางล­งค่ะ

น้ำหนักลด

การที่น้ำหนักลดผิดปกติไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลยค่ะ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้น้ำหนักดิ่งลงอย่างรวด­­­­เร็วประมาณ 5-10 กิโลกรัม ภายในเวลา 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผลดีกับร่างกายเลยค่ะ

ส่วนสาเหตุของการที่น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วนั้นก็เนื่องมาจากร่า­­งกาย­­ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้­­­­ามเนื้อ มาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้การที่ไตทำงานอย่างหนักยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอ­­­­รีมากเกินไป แถมยังอันตรายต่อไตอีกด้วย

หิวบ่อย กินจุบจิบ

ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ คุณกลายเป็นคนชอบกินจุบจิบหรือหิวบ่อยแบบไม่มีสาเหตุละก็ สันนิฐานได้เลยค่ะว่า คุณอาจจะกำลังเป็นโรคเบาหวาน เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะต้องการอาหารเพื่อเ­พิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และจะส่งสัญญาณออกมาเป็นความรู้สึกหิวนั่นเอง แต่ถ้าอยากให้แน่ใจว่าป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ก็ควรไปตรวจจะดีกว­­­­่าค่ะ

มีปัญหาที่ผิวหนัง

ผิวแห้งแตก หรืออาการคันบนผิวหนัง เป็นสัญญาณพื้นฐานของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจจะมีรอยดำคล้ำที่บริเวณคอหรือใต้รัก­­­­แร้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวการณ์ดื้ออินซูลินในร่างกาย ดังนั้นหากพบว่ามีปัญหาผิวหนังดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ

บาดแผลหายช้า

หากบาดแผลที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ แผลถูกของมีคมบาด หรือแม้แต่รอยฟกช้ำนั้นหายได้ช้านั่นเป็นสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่­าคุณกำลังเผชิญกับโรคเบาหวานค่ะ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าปกติของผู้ป่วยเบาหวานจะ­­­­ไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด โดยจะไปสร้างความเสียหายในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่มีบาดแผลได้น้อย หากไม่ระมัดระวังหรือรักษาความสะอาดให้ดี ก็อาจจะกลายเป็นแผลติดเชื้อ และเกิดเนื้อตายได้ค่ะ

ติดเชื้อราง่าย

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายจะไวต่อการติดเชื้อ และเชื้อราที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบบ่อยที่สุดก็คือเชื้อราแคนดิด­า (Candida) เพราะส่วนใหญ่แล้วเชื้อราชนิดต่าง ๆ มักจะเติบโตได้ดีในสภาวะที่อุดมไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะคุณผู้หญิงอาจติดเชื้อราแคนดิดาได้­บ่อ­­­ยในบริเวณช่องคลอด วิธีการรักษาก็คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อและควบคุมระดับน้ำตาลค่ะ

อ่อนเพลีย อารมณ์ฉุนเฉียว

อาการอ่อนเพลียและอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานจะต้­องเจอเมื่อระดั­­­บน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลกับทุกระบบการทำงานในร่างกา­­­­ย แม้แต่กับภาวะทางอารมณ์ แต่ก็ไม่ต้องกังวลจนมากไป เพราะเมื่อร่างกายขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะจนระดับน้ำตาลในเลือ­­­­ดเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้น อาการอ่อนเพลียและอารมณ์ที่แปรปรวนก็จะหายไปค่ะ

มองไม่ชัด

อาการมองเห็นไม่ชัด เห็นแสงวูบวาบ หรือเห็นอะไรลอยไปมาในดวงตา เป็นผลมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป โดยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะไปทำปฏิกิริยาภายในดวงตา ทำให้เกิดความผิดปกติ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะอาการนี้จะไม่เป็นตลอดไปหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู­­­­่ในระดับปกติได้ แต่ก็ควรที่จะหมั่นตรวจเลือดเพื่อเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอย่างส­­­­ม่ำเสมอ เพราะถ้าหากไม่ตรวจเช็กและควบคุมให้ดี ก็อาจจะทำให้มีสิทธิ์ตาบอดได้ค่ะ

รู้สึกชาตามปลายมือปลายเท้า

อาการชาตามปลายมือปลายเท้า เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าระดับน้ำตาลในเลือดได้เข้าไปทำลายระ­­­­บบการทำ งานของประสาท มักจะเป็นอาการที่เกิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานและมีระดับน้ำตาลส­­­­ูงติดต่อกันเป็นเวลานาน วิธีการป้องกันก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับ­ที่เหมาะสม และควรรับประทานวิตามินบีเพื่อบำรุงประสาทอีกด้วย

น้ำตาลในเลือดสูง

จริงอยู่ที่การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถระบุได้ชัดที่สุด­­­­ว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ แต่เราก็ไม่สามารถเชื่อผลการตรวจเลือดในครั้งแรกได้ค่ะ เพราะการตรวจเลือดในครั้งแรก ระดับน้ำตาลที่สูงอาจจะเกิดจากการร­ับประทานอาหารก็ได้ จึงควรได้รับการตรวจเลือดซ้ำ โดยงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

ทั้งนี้ระดับน้ำตาลของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากระดับน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็ควรระมัดระวัง แต่ถ้าระดับน้ำตาลสูงกกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แม้จะตรวจซ้ำแล้วก็แปลว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน

ก่อนจะสายไป มาเริ่มดูแลด้วยภูมิสมดุลภายในร่างกายกัน ลองมาฟังคลิปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน จากผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย



หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสมดุล เพิ่มเติม

โทร.093-974-5878

Line : 989shop

http://www.bim100.site

http://www.phumsomdul.club

https://www.shopbim100.com

https://www.facebook.com/bim100.site


ที่มา kapook

เคล็ดลับ !!สูตร “น้ำผักต้านมะเร็ง” ของ “ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์”ถึงไม่เป็นมะเร็งก็กินได้ (มีคลิป)



ต้องบอกต่อใครที่มีญาติเป็นมะเร็ง นำสูตรนี้ไป ทำให้กินได้เลย หรือบอกต่อๆ กันไป…เป็นอานิสงฆ์นะ น้ำผักผลไม้สูตรในวัง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีผิวพรรณสดใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคมะเร็งจะดีมากมีคนแถวบ้านเป็นมะเร็งอายุประมาณ 80 กว่าแล้ว ต้องให้คีโมแต่ปรากฏว่าพอรับประทานน้ำผลไม้สูตรนี้ไปเป็นเวลาประมาณไม่ถึง 1 เดือนปรากฏว่ามีผมงอกขึ้น และแข็งแรงขึ้นมาก จนหมอตกใจลองนำไปปั่นทานกันดู.. น่าจะดีต่อสุขภาพไม่มากก็น้อยส่วนประกอบก็ราคาไม่แพงมากด้วย


1. แอปเปิ้ล 1 ผล

2. แครอท 1 ลูก

3. ผักสลัด (ผักกาดแก้ว) 3 ใบ

4. ตั้งโอ๋ 2 ก้าน

5. มะนาว 1 ลูก

6. น้ำเสาวรส 1/2 แก้ว (ถ้าไม่มีสดให้ซื้อน้ำเสาวรสกระป๋องก็ได้ค่ะ)

7. น้ำผึ้งแท้ 1/2 แก้ว

8. น้ำเปล่า 1-2 แก้ว แล้วแต่ความชอบ

9. ฝรั่ง 1 ผล

10. มะเขือเทศสีดา (ลูกเล็กๆ) 5 ลูก

11. น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ

ชมคลิป


นำทุกอย่างมาปั่นรวมกัน สูตรนี้จะทำได้ประมาณ 1 ลิตร ในกรณีที่เป็นคนป่วย

ให้รับประทานวันละ 1 ลิตร แต่ถ้าดื่มเพื่อสุขภาพเฉยๆ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 2-3 วัน

เพื่อนๆ คนไหนมีเทคนิคดีๆ หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับมะเร็ง สามารถแสดงความคิดเห็นได้เลยนะครับ เป็นบุญ เป็นกุศลอย่างยิ่ง

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ข้อมูลจาก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ชลบุรี
ที่มา chaokouy.com

แต่สำหรับอีกวิธีหนึ่ง เราขอแนะนำการดูแลด้วย การสร้างภูมิสมดุลภายในร่างกาย หรือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายนั่นเอง เพราะมะเร็งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ที่เคยเป็นเซลล์ดี แล้วกลับกลายเป็นของเสียภายในร่างกาย การใช้ภูมิบำบัด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของกระบวนการดูแล โดยการเพิ่มค่าของเม็ดเลือดขาว ให้สามารถไปต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติได้ แต่ก็มีการสร้างในปริมาณที่พอดี ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป จึงเรียกว่า ภูมิคุ้มกันที่สมดุล

ลองชมคลิปจากนักวิทยาศาสตร์ของไทย ผู้คิดค้นสูตรเพิ่มเม็ดเลือดขาว

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสมดุล เพิ่มเติม

โทร.093-974-5878

Line : 989shop

http://www.bim100.site

http://www.phumsomdul.club

https://www.shopbim100.com

https://www.facebook.com/bim100.site

กรดไหลย้อน กับโรคกระเพาะ เหมือนหรือต่างกัน? แล้วจะดูแลไม่ให้กลับมาเป็นได้ไหม?


โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

เรามักคุ้นเคยกันดีกับ โรคกระเพาะ และเมื่อมีอาการปวดท้อง ปวดแสบร้อนในช่องท้องส่วนบน เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก ก็มักจะคิดเอาเองว่า โรคกระเพาะ กำลังมาเยือนเป็นแน่แท้ ทั้งที่ความเป็นจริงอาจกำลังถูก "โรคกรดไหลย้อน" เล่นงานเอาก็เป็นได้

วันนี้เราจึงมีวิธีแนะนำ ด้วยวิธีการธรรมชาติ เป็นการปรับภูมิสมดุล ภายในร่างกาย หรือภูมิบำบัด นั่นเอง เพราะฉะนั้นเราจะพาไปรู้จักกับภูมิสมดุลให้มากขึ้น ดูจากคลิปนี้เลย

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสมดุล เพิ่มเติม

โทร.093-974-5878

Line : 989shop

http://www.bim100.site

http://www.phumsomdul.club

https://www.shopbim100.com

https://www.facebook.com/bim100.site

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถจัดการได้ จริงหรือไม่ (ชมคลิป)

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ของต่อมน้ำเหลืองโดยตรง ส่วนมะเร็งที่ลุกลามจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตได้ แต่ไม่เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จะเรียกตามมะเร็งที่อวัยวะนั้นแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง เช่น มะเร็งเต้านมลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

เป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่เคยได้ยินกัน แต่อาจจะไม่รู้จักกันมากนัก วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งสาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งวิธีรักษามาบอกกันค่ะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ของต่อมน้ำเหลืองโดยตรง ส่วนมะเร็งที่ลุกลามจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตได้ แต่ไม่เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จะเรียกตามมะเร็งที่อวัยวะนั้นแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง เช่น มะเร็งเต้านมลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต

เซลล์ที่ต่อมน้ำเหลืองประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์เป็นส่วน ใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นจากเซลล์ลิมโฟไซต์ที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีหลายชนิดต่างกัน เช่น เซลล์ลิมโฟไซต์ชนิดบีเซลล์บีและเซลล์ทีเป็นต้น เมื่อกลายเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจึงเรียกว่า โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือลิมโฟมา (lymphoma) ซึ่งคำว่าลิมโฟมามาจากคำว่าลิ้ม (lymph) แปลว่าน้ำเหลือง และโอมา (oma) แปลว่า ก้อนเนื้องอก
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ชนิด

เราสามารถแบ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ง่าย ๆ เป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดคิน (Hodgkin lymphoma) ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะจำเพาะ ชื่อเซลล์รีดสะเพินเบิรร์กและเซลล์ชนิดอื่น ๆ

2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ใช่ฮอดคิน (non-hogkin lymphoma) พบมากกว่ามะเร็งชนิดฮอดคินมากกว่า 8-9 เท่า และพบมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งมะเร็งชนิดนี้อาจแบ่งย่อยได้ เป็น 3 ชนิด ดังนี้

- ชนิดเกรดต่ำ เจริญเติบโตช้า
- ชนิดเกรดปานกลาง เจริญเติบโตปานกลาง
- ชนิดเกรดสูง เจริญเติบโตเร็วและการดำเนินโรครุนแรงกว่าชนิดอื่น

แล้วมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถจัดการได้จริงหรือไม่ ดูคลิป

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและถามตอบภูมิสมดุล

โทร.093-974-5878

Line : 989shop

http://www.bim100.site

http://www.phumsomdul.club

https://www.shopbim100.com

https://www.facebook.com/bim100.site

ข้อมูลบางส่วนจาก kapook